Archive for มกราคม 2013

การเปลี่ยนสปริงเกอร์ในสนามหญ้า

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 · Posted in ,

คนที่บ้านมีสนามหญ้าแล้วมีสปริงเกอร์แบบฝังดินเคยคิดไหมครับว่าตอนเราจะเปลี่ยนหัวสปริงเกอร์นั้นจะทำอย่างไรให้สนามช้ำน้อยที่สุด ถ้าเรานึกดูดีดีแล้วยังไงซะก็ต้องขุดดินรอบๆหัวสปริงเกอร์แน่นอน เอาละครับเราไปดูวิธีการที่ถูกต้องและทำให้สนามหญ้าช้ำน้อยที่สุดของฝรั่งในคลิปนี้กันครับ



คลิปนี้ชื่อคลิปว่า How to replace a Rain Bird 3504 sprinkler head. แน่นอนเป็นโฆษณาหัวสปริงเกอร์ยี่ห้อ Rain Bird 3504 นั่นเอง

 

ผมเชื่อนะครับว่าหลายๆคนทำเองที่บ้านกันอยู่แล้ว สปริงเกอร์แบบฝังดินเท่าที่ผมใช้มาก็สองสามปีแล้วยังไม่เคยมีปัญหาอะไรเพราะว่าใช้กับท่อพีอีไม่มีตะไคร่น้ำไปตันแน่นอน ตอนแรกที่ผมไม่ได้ฝังดินนั้นผมใช้ตัวนึงเป็นตัวเคลื่อนที่ ปรากฏว่าตันบ่อยมากเพราะว่าใช้สายยางตากแดดแล้วมันมีตระไคร่น้ำไปตัน จนกลัวไม่กล้าฝังดินอยู่พักใหญ่เพราะว่ากลัวตัน

แต่สุดท้ายก็ลองฝังดินดูแล้วใช้ท่อพีอีตามสูตรก็ไม่เจอปัญหาตันเลย ผ่านมาก็สามปีแล้วน้ำยังออกแรงดีเหมือนเดิม งานสวนก็อย่างนี้แหละครับ อยู่ที่แนวคิดและความพอใจ ว่าเราต้องการให้สวนเราเป็นแบบไหนด้วยวิธีไหน การดูแลเอาใจใส่ต้นไม้ให้สมบูรณ์บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราให้เวลา ก็ไม่ต้องไปท้อแท้เสียใจนะครับ

ผมเองให้เวลากับสวนกับต้นไม้เยอะมากพอสมควรแต่ว่าต้นไม้ก็ไม่งามเท่าไหร่ก็รู้อยู่เหมือนกันครับว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้ต้นไม้ไม่งาม ของผมก็จะมี ดินไม่ดีต้องปรับปรุงเพราะเป็นดินปลูกบ้านโครงการดินมักเป็นดินเหนียว ต่อมาก็น้ำที่ใช้รดเป็นน้ำประปาตอนนี้ทำบ่อปลาคาร์ฟไว้แล้วเตรียมต่อปั๊มดึงน้ำในบ่อมารด และสุดท้ายคือแมลง เพลี๊ยต่างๆ ที่มากับลม เพราะว่าข้างบ้านผมที่เป็นรั้วโครงการนั้น เป็นทุ่งนา แน่นอนว่าต้องมีแมลง มีศัตรูพืชที่หนีตายมาเยี่ยมเยียนตลอดเวลาอยู่แล้วซึ่งก็ต้องหาทางผ่อนหนักเป็นเบาสำหรับเรื่องนี้ เพราะว่าจะฉีดยาฆ่าแมลงรอบๆบ้านก็คงไม่ดีแน่นอน

ว่าไปยาวว่าไปนั่น สำหรับบทความนี้หวังว่าทุกคนที่ชอบสวนและนั่งมองสปริงเกอร์ที่บ้านอยู่คงจะมีความสุขและลุกไปเดินเล่นไปชมนกชมไม้ในสวนกันอย่างสุขใจทุกๆคนเลยนะครับ

ปลูกไม้ดอกเมืองหนาว

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556 · Posted in ,

สวัสดีครับเรามาพูดกันถึงการปลูกไม้เมืองหนาวกันต่อ จากคราวที่แล้วได้พูดถึงเสน่ย์ของไม้ผลัดใบและแง่คิดในเชิงบวกเกี่ยวกับไม้ผลัดใบสำหรับคนที่ชอบจริงๆเท่านั้นนะครับ เพราะถ้าหากไม่ชอบไม้ผลัดใบหรือว่าไม้เมืองหนาวก็คงจะบังคับให้คิดในแง่บวกหรือว่ามองเสน่ย์ของไม้เมืองหนาวที่ผลัดใบได้ยาก


ถ้าหากว่าเราไม่ได้อยู่ภาคเหนือและอากาศไม่ได้หนาวเย็นที่จะสามารถปลูกต้นไม้เมืองหนาวได้ เราจะทำอย่างไร นี่เป็นคำถามที่มีคนเยอะมากต้องการรู้เรื่องนี้ เพราะว่าอยากจะปลูก ยกตัวอย่างเช่น มีคนเยอะมากที่ถามเอาไว้ในกระทู้ต่างๆว่า ถ้าปลูกเมเปิลเอาไว้หน้าบ้าน จะได้เห็นใบสีเหลือง สีส้ม สีแดงเหมือนต่งประเทศหรือเหมือนภาคเหนือบ้างหรือปล่าว ถ้าผมตอบก็ต้องตอบตามความจริงว่า คงไม่ได้เห็นหรือถ้าได้เห็นก็คงน้อย...

แต่สิ่งที่ผมอยากทดลองก็คือ ถ้าเราริดใบของเมเปิลออกเองหล่ะ...
ใช่มั้้ยครับ ถ้าเรานึกหลักการของมันของต้นไม้ที่ผลัดใบแล้ว พอใบหมดก็จะแตกใบใหม่ ถ้าเราเด็ดใบมันออกอย่างตั้งใจแน่นอนว่าเราก็ต้องได้เห็นใบใหม่ของมันซึ่ง ใบที่มันแตกมาใหม่ก็ต้องเป็นสีอ่อนตามธรรมชาติอยู่แล้ว นี่ไงครับทางออกของคนอยากปลูกเมเปิล ใครจะคิดถึงบ้าง...

แล้วถ้าเป็นไม้ดอกของเมืองหนาวหล่ะเราจะทำอย่างไรถึงจะได้เห็นดอกของมันบ้างโดยที่อากาศบ้านเราไม่ได้หนาว... คำถามนี้คำตอบที่ได้ค่อนข้างจะราคาสูงทีเดียว ไปดูภาพกันเลย


แน่นอนว่าในภาพไม่ได้เป็นเรือนกระจกที่รักษาอุณหภูมิ แต่ว่าเป็นลักษณะของการกรองแสงลดความร้อน หากว่าใครต้องการเล่นไม้ดอกเมืองหนาวจริงๆก็คงต้องลงทุนอย่างมาก เรียกว่าได้ไม่คุ้มเสียแน่นอน แต่ว่าหากมีตังส์เหลือใช้ไม่รู้จะทำอะไรและมีความสุขก็ไม่ว่ากันแน่นอน

เรื่องของไม้หนาวนั้นถ้าหากว่าใครสนใจจริงๆก็อยากให้ไปชมไปเที่ยวดูก่อนและก็ศึกษาหาข้อมูลก่อนเยอะๆครับ เพราะแค่ดอกไม้เมืองร้อนที่เราปลูกได้ยังมีปัญหาเยอะแยะเลยครับ แล้วนี่ไม้ดอกเมืองหนาวย่อมต้องการอะไรมากกว่าเยอะครับ

ลองไปดูกันก่อนครับไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ก็มีที่เที่ยวดูไม้ดอกเมืองหนาวจุใจแล้วครับ

หน้าหนาวกับไม้ผลัดใบ

เมื่อเข้าหน้าหนาวทันทีต้นไม้ต่างๆไม่ว่าจะเล็กใหญ่ต่างก็แสดงอาการออกมาทันที โดยการทิ้งใบแล้วแตกใบใหม่ให้เราได้เห็น ผมว่ามันสวยดีนะ แต่หลายคนบอกลำคาญต้องมากวาดใบมัน


ถ้าเรานึกดูดีดีแล้วความสวยงามความมีเสน่ย์ของต้นไม้ก็อยู่ตรงที่ความเขียวความร่มรื่นโดยเฉพาะการได้เห็นใบใหม่ๆที่ผลิออกมาแทนใบเก่า ผมว่ามันน่าขนลุกมาก ใครที่คิดว่าเป็นสิ่งที่น่ารำคาญผมว่ามันไม่ใช่เลย ถ้าหากว่ารำคาญที่ต้องมีต้นไม้ผลัดใบมาอยู่ในสวนผมว่าไม่ต้องปลูกไม่ต้องมีสวนดีกว่าครับ

เวลาเราไปเที่ยวภาคเหนือตอนหน้าหนาวอากาศเย็นๆเคยสังเกตุกันไหมครับว่า ต้นไม้ต่างๆที่ออกดอกโชว์ความสวยงามตามข้างทางเหล่านั้นมันก็ทิ้งใบกันไปแล้ว เมื่อทิ้งใบเสร็จก็ออกดอก ออกใบใหม่สดใส มาให้เราได้เห็นกัน บางทีไปเที่ยวกันแล้วไม่ได้ดูที่โคนต้นไม้เลย ใบไม้เพียบ

ที่ว่าไฟป่าก็เพราะมีเศษใบไม้เหล่านี้เยอะแล้วด้วยความแห้งแล้งกับมีคนสูบบุหรี่แล้วทิ้งขี้บุหรี่นี่แหละครับเลยทำให้เกิดไฟป่า เชื่อหรือไม่ครับว่าอากาศหนาวนั้นมีความชื้นในอากาศน้อยกว่าอากาศร้อนซะอีก ต้นไม้ที่ปลูกไว้ในสวนตามบ้านเรือนหน้าหนาวลมแรงๆนี่ต้องรดน้ำกันเช้าเย็นเลย ไม่งั้นแห้งใบร่วงหมดต้นอ่ะครับ

บางคนเข้าใจผิดคิดว่า โอ้ย..อากาศเย็นสบายแบบนี้ไม่ต้องรดน้ำมากหรอก นั่นผิดถนัดเลย ยิ่งอากาศเย็นและมีลมนี่แหละ แห้งมากๆ เราซักผ้าแล้วตากไว้ในช่วงหน้าร้อนยังไม่แห้งเร็วเท่าหน้าหนาวเลย เรียกว่าตากไว้สองโมงเช้าตอนเที่ยงๆก็เก็บได้เเล้ว แต่หน้าร้อนบางทีเย็นแล้วยังหมาดๆอยู่เลย นี่ก็เป็นเพราะหน้าหนาวนั้นความชื้นในอากาศมันไม่มี

บางทีคนชอบแต่งสวนก็เข้าใจผิดไปอีกว่าเวลาเลือกต้นไม้ใหญ่ให้เลือกไม้ที่ไม่ผลัดใบจะได้ไม่ต้องกวาดใบไม้ ถ้าหากว่าคิดแบบนี้ก็มีหวังได้เบื่อกับใบไม้ที่เขียวแก่จนไม่รู้จะแก่อย่างไรนั่นแหละครับ ขนะที่ต้นไม้ที่ผลัดใบเช่นต้นแคนาที่มักปลูกตามโครงการเดี๋ยวนี้ก็มีเสน่ย์ตอนทิ้งใบแล้วแตกใบใหม่นี่แลหะครับ สวยมากเป็นสีแดงชมพูเลย ไม่เชื่อหาไปปลูกกันได้ครับแล้วหมั่นเอาตะขอละใบออกเรื่อยๆแค่นี้ก็ได้ไม้ผลัดใบสีแดงไว้ดูเด่นที่สวนที่บ้านได้แล้วครับไม่ต้องไปเล่นเมเปิลให้ยากด้วย

พูดถึงไม้อีกชนิดนึงคือต้น สนุ่น ต้องบอกว่าเป็นไม้เมืองหนาวของชนบทเลยครับเพราะว่าพอหน้าหนาวมันก็จะทิ้งใบหมดต้นแล้วออกดอกออกมาเป็นปุยนุ่นสีขาวแล้วลอยไปตามอากาศเหมือนหิมะเลยว่างั้น พอดอกร่วงหมดก็แตกใบใหม่สวยงามมากๆ สีแดงทั้งต้นแล้วค่อยๆไล่สีขั้นมาเป็นส้ม ส้มอ่อน เหลือง เลือกอ่อน เขียวอ่อน เขียว

นี่แหละครับความเข้าใจเรื่องต้นไม้ผลัดใบกับมุมมองที่ถูกต้อง ไงก็ลองหาไม้ผลัดใบไว้ในบ้านดูบ้างนะครับผม

หญ้ามาเลเซียกับดินเหนียว

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556 · Posted in

หญ้ามาเลนั้นขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหญ้าที่ทนน้ำ ชอบความชื้นสูง แดดปานกลาง บางครั้งบางทีหลายคนเอาไปปลูกในร่มเลยก็มี ผมก็ไม่รู้นะครับว่าสุดท้ายแล้วหญ้าที่อยู่ในร่มนั้นเป็นอย่างไร เเต่เชื่อว่าการปลูกในร่มขนาดนั้นยังไงหญ้าก็ไม่โตและก็ตายในที่สุดแน่นอนครับ





ดินเหนียวถือว่ามีข้อดีและข้อเสียค่อนข้างจะสุดขั้วกันเลยทีเดียว  ถ้าหากว่าเรามาลองนั่งพิจารณาดูดีดี เพราะว่าดินเหนียวถ้าเราเลี้ยงน้ำดีดีก็จะเป็นดินที่เหมาะกับพืชที่ต้องการความชื้นสูง แต่ว่าถ้าเราเลี้ยงน้ำให้ดินชนิดนี้ไม่ดีพอความมชื้นภายในดินหมดไปจะทำให้ดินแข็งมาก

พอดีตอนนี้ผมขุดดินเพื่อทำบ่อปลา เลยเอากองไว้หลังบ้าน ดินที่ขุดขึ้นมาเป็นดินเหนียวแท้ๆ ก็กะว่าจะปลูกหญ้ามาเลแบบขยายพันธุ์ คือการปักชำหญ้ามาเล ดังที่ผมได้เคยบอกไปแล้วในเรื่องการปักชำหญ้ามาเล ซึ่งข้อสำคัญที่จะทำให้ลำต้นที่ปักชำนั้นเป็นมากที่สุดก็คือ การเลี้ยงน้ำ

ในระยะ 7 วันแรก การเลี้ยงน้ำสำคัญมากๆ ต้องให้ดินเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อย่าให้ดินเเข็งเด็ดขาด เพราะดินที่ว่านี้เป็นดินเหนียวถ้าหากว่าปล่อยให้แห้งจนแข็งแล้ว การรดน้ำเพื่อทำให้ดินชื้นในครั้งต่อไปจะทำได้ยาก เพราะน้ำจะไม่ซึมลงในดินแต่จะไหลผ่านไปมากกว่า นอกจากจะใช้การรดน้ำแบบสปริงเกอร์เข้าช่วยก็ทำได้

การติดของกิ่งที่ปักจะอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ความชื้นกับแดด ความชื้นนี้ให้แบบสม่ำเสมอถึงเปียกก็ได้ แต่แสงแดดนั้นน้อยๆจะดีกว่า เพราะถ้าหากให้แดดเต็มๆ มีโอกาสที่ต้นที่ชำจะเสียน้ำและดินแห้งเร็วทำให้กิ่งที่ปักไม่ติดได้ ทางออกเรื่องแสงแดดก็ใช้สแลนสีดำไม่ต้องเอาถึง 80 เปอร์เซ้นก็ได้ เอาสัก 75 เปอร์เซ็นแล้วคุมน้ำความชื้นที่ดินให้เปียกตลอดเวลาเป็นดี

แล้วจะเอารูปตอนที่หญ้าเต็มมาให้ดูกันครับ

siteam2015@hotmail.com. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โลกเราสวยงามได้เพราะว่าต้นไม้เท่านั้น ต้นไม้ให้เราได้ืทุกอย่าง ต้นไม้ไม่เคยทำร้ายเรา และเราเองก็ไม่ควรไปทำลายต้นไม้นะครับ มารักต้นไม้กันเถอะครับ

Popular Posts